วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กรอบแนวความคิดทางการบัญชี

ความหมายของคำว่าการบัญชี
การบัญชี หมายถึง กระบวนการในการปฏิบัติงานด้านเอกสาร สมุดบัญชี และทะเบียนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การ และกิจกรรมเหล่านั้นมักจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขทางการเงินขององค์การ ซึ่งหน่วยงานทางการบัญชีจะต้องนำข้อเท็จจริงเหล่านั้นไปบันทึกไว้เป็นหลักฐาน โดยมีการจำแนกแจกแจงและจัดหมวดหมู่ให้ถูกต้อง โดยอาศัยวิธีการและหลักการที่ถูกต้องในการประมวลผล เพื่อให้ได้งบการเงินและรายงานทางการบัญชีต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารขององค์การและสาธารณชนโดยทั่วไป
ประเภทของการบัญชี ในองค์การสมัยใหม่ควรมี 6 ระบบบัญชีหลัก ที่สำคัญ ดังนี้
2.1 ระบบบัญชีทั่วไป (General Accounting)
2.2 ระบบบัญชีเพื่อบริหาร (Management Accounting)
2.3 ระบบบัญชีต้นทุน (Cost Accounting)
2.4 ระบบบัญชีงบประมาณ
2.5 ระบบการตรวจสอบบัญชี (Auditing)
2.6 ระบบบัญชีแบบศูนย์ต้นทุน ศูนย์กำไร (Profit Center – Cost Center)
หน้าที่อันสำคัญของการบัญชี
เรื่องการบัญชีนั้นนักบริหารส่วนใหญ่จะใช้วิธีการเชิงรับมากกว่าเชิงรุก กล่าวคือ ไม่ทราบว่าจะบริหารการบัญชีอย่างไรจึงจะถูกต้อง จึงต้องได้แต่รอคอยการรายงานจากหน่วยงานการบัญชีอย่างเดียว
หน้าที่หลักของการบัญชี
- จัดทำงบการเงินและการบัญชีให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อนำเสนอต่อผู้ถือหุ้นและหน่วยงานราชการ
- รวบรวมเอกสารและหลักฐานที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ขอองค์การไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
- แปลงเอกสารและหลักฐานที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริงให้แสดงออกมาในรูปของการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองกันโดยทั่วไป
- ออกแบบระบบบัญชีให้สอดคล้องกับลักษณะของกิจกรรมทางเศรษฐกิจขององค์การ
- นำเสนอข้อมูลและข้าวสารทางการบัญชี
- จัดทำบทวิเคราะห์ในแง่มุมต่าง ๆ จากตัวเลขที่ประมวลผลได้
- นำเสนอกรอบแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยบูรณาการ
- วิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
- ทำการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างตัวเลขขององค์การกับองค์การอื่น ๆ
- วิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปของโครงการลงทุนใหม่
หน้าที่รองของการบัญชี
- ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกองค์การ
- ช่วยวิเคราะห์ศึกษาและชี้แจง ข้อสงสัยในบางประเด็น
- ช่วยส่งเสริมองค์ความรู้ทางการบัญชีและการบริหารการเงินให้แก่นักบริหาร และบุคลากรภายในองค์การ
- ทำการประสานงานกับหน่วยต่าง ๆ ภายในองค์การ
- ทำหน้าที่พัฒนาระบบบัญชีขององค์การให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- ช่วยงานด้านอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหารระดับสูง
คำตอบก็คือที่ผ่านมาเมื่อในอดีตนักบริหารไทยได้ปล่อยปละละเลยต่อเรื่องการบัญชีเป็นอย่างมีก จึงมีผลทำให้นักบริหารไม่มีความสามารถอย่างเพียงพอ
ความเป็นนักบริหารสมัยใหม่
จะสังเกตเห็นได้ว่าในระยะหลัง ๆ นี้ นักบริหารไทยมีความตื่นตัวที่จะพัฒนาตนเองในหลาย ๆ ด้านเพื่อให้ตนนั้นได้ชื่อว่าเป็นนักบริหารสมัยใหม่
1 การมีองค์ความรู้แบบสหวิทยาการ ความเป็นนักบริหารสมัยใหม่ต้องรอบรู้ในหลาย ๆ มิติ
2 ต้องมีความสามารถด้านการบริหารการเงินอย่างเข้มแข็ง นักบริหารจะต้องมีความรู้ในเรื่องการบัญชีในระดับหนึ่งเสียก่อนจึงจะไปวิเคราะห์เรื่องการบริหารการเงินได้
3 ต้องมีความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้
นักบริหารจะต้องนำเอากรอบองค์ความรู้ที่หลากหลายมาเชื่อมโยง เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบ จะเห็นได้ว่าในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์การในแต่ละรื่องนั้นจะใช้องค์ความรู้เพียงแค่ด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องนำเอาความรู้ที่หลากหลายมาบูรณาการ เพื่อจะวิเคราะห์ปัญหา
4 ต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision)
นักบริหารสมัยใหม่จะต้องมีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาองค์การอยู่ตลอดเวลา
5 ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมต่อสังคม
สังคมจะทำหน้าที่ตรวจสอบองค์การต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา
6 ต้องมีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
การใช้เครื่องมือทางการบัญชีและการเงินก็เป็นหนทางหนึ่งในเชิงปริมาณที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ในการกระจายรายได้
7 ต้องสนใจเรื่องเทคโนโลยี และระบบข่าวสารเพื่อการบริหาร (Management information systems)
เป็นสิ่งที่นักบริหารไทยไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
8 ต้องหมั่นติดตามและวิเคราะห์ตัวแปรภายนอกที่จะมากระทบองค์การอย่างสม่ำเสมอ
นักบริหารสมัยใหม่ต้องหมั่นติดตามตัวแปรที่อยู่ภายนอกองค์การอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น